วันที่ 15 ก.พ. รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงาน แจ้งว่า ในวันนี้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงได้อุดหนุนราคาดีเซลเพิ่มขึ้นอีก 0.73 บาทต่อลิตร จากเดิมอุดหนุนที่ 4.57 บาทต่อลิตร เป็น 5.30 บาทต่อลิตร หลังราคาน้ำมันตลาดดีเซลตลาดโลกในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ ต้องควักจ่ายเฉพาะดีเซลวันละ 375 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 1.1 หมื่นล้านบาทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
เมื่อหักลบกับรายได้จากกลุ่มเบนซินและชดเชยก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) อีกราว 1,700 ล้านบาทต่อเดือน ทำให้กองทุนน้ำมันฯ ไหลออกวันละ 320.50 ล้านบาท หรือเดือนละประมาณ 10,000 ล้านบาท
หากระดับราคาน้ำมันดีเซลตลาดโลกยังคงมีทิศทางผันผวนในระดับเฉลี่ย 105-110 ดอลลาร์/บาร์เรล คาดว่าฐานะกองทุนน้ำมันฯ จะติดลบประมาณ 100,000 ล้านบาท ภายในเมษายนนี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“ราคาน้ำมันที่ผ่านมาค่อนข้างผันผวนสูงเดี๋ยวขึ้น ลง จากปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์เป็นหลัก ทั้งจากการสู้รบในทะเลแดง และในช่วง 1-2 วัน รัสเซียและยูเครน มีความตึงเครียดเพิ่มขึ้น ภายหลังนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ ปฏิเสธข้อเสนอหยุดยิงชั่วคราว ประกอบกับสถานการณ์ในตะวันออกกลางก็ทวีความตึงเครียดขึ้นเช่นกัน แต่ล่าสุดความเคลื่อนไหวราคาเริ่มอ่อนตัวลง คงจะต้องติดตามวันต่อวัน”
ปัจจุบันฐานะกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 มีฐานะสุทธิ -87,828 ล้านบาท แบ่งเป็นปัญชี LPG – 46,584 ล้านบาท บัญชีน้ำมัน -41,244 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม กองทุนน้ำมันฯ ยังคงเหลือเงินกู้ที่สามารถเบิกจากสถาบันการเงินได้อีก 30,333 ล้านบาท (จากปี 2565-2566 ที่รัฐบาลให้กรอบวงเงินกู้ได้ไม่เกิน 1.5 แสนล้านบาท โดยทำเรื่องกู้รวมไปแล้ว 1.05 แสนล้านบาท) เพื่อการบริหารดูแลราคาดีเซล
“มาตรการดูแลดีเซลไม่เกิน 30 บาท/ลิตร จะสิ้นสุดในวันที่ 31 มี.ค. นี้ หากดูจากวงเงินที่เหลือบริหาร อาจจะยืดได้ถึง เม.ย. เท่านั้น จากนั้น พ.ค. ทุกอย่างจะเกิดปัญหา กระทรวงพลังงานเองก็กำลังเร่งหาแนวทางที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ โดยจะต้องสรุปออกมาให้ชัดเจนในช่วง มี.ค. และต้นเมษายน โดยเร่งด่วน เพราะสถานการณ์ขณะนี้ของกองทุนฯ ต่างจากอดีตที่เป็นวิกฤติราคาน้ำมัน แต่วันนี้เป็นวิกฤติสภาพคล่องกองทุนน้ำมันแล้ว โดยการกู้เพิ่มนั้น แม้แต่สถาบันการเงินรัฐ ก็คงไม่สามารถดำเนินการให้ได้ หากเราไม่มีแหล่งรายได้ไปการันตี”