นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยปี 2566พบว่า ภาระหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น มากที่สุดในรอบ 15 ปี
นับตั้งแต่ที่มีการสำรวจความคิดเห็นในปี 2552 โดยมีหนี้สินรวมอยู่ที่ 559,408.70 บาท ต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 11.5 % จากปี 2565 ที่มีหนี้รวม 501,711.84 บาทต่อครัวเรือนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
โดยมีภาระการผ่อนชำระต่อเดือน 16,742 บาท ต่อเดือนเป็นหนี้ในระบบ 12,012.70 บาท ต่อเดือน หรือ ประมาณ 80.2% หนี้นอกระบบ 4,715.50 บาท ต่อเดือน หรือ 19.8 %
ซึ่งสาเหตุที่หนี้เพิ่มสูงขึ้น มาจากค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ถึง 16.8 % มีการซื้อสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น 16.2 % เช่น รถยนต์ บ้าน มีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย 13.8% และ กลุ่มตัวอย่างถึง 60 % ไม่มีการออมเงิน
นอกจากนี้ จากผลการสำรวจยังพบว่าคน GEN Y และ GEN Z ถึง 76 % ยอมรับว่าใช้เงินแบบไม่วางแผน และ 60.5% มีการใช้จ่ายเงินเกินตัว และ 47.2 % กู้ยืมเงินในอนาคตมาใช้ โดยเฉพาะการรูดบัตรเครดิต มาใช้ก่อน ผ่อนทีหลัง
นอกจากนี้ จากผลสำรวจ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการนัดผิดนัดชำระหนี้มากขึ้นในอีก 6 เดือน ถึง 1 ปี เนื่องจาก รายได้ที่ได้รับลดลง เศรษฐกิจไม่ดี และ ความไม่มั่นคงในการทำงาน
ทางหอการค้าไทย คาดว่าหนี้ครัวเรือนจะขึ้นไปสูงสุดในปี 2567 หลังจากที่เศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวตามที่คาดการณ์ไว้ เพราะการจัดตั้งรัฐบาลยังล่าช้า โดยล่าสุดกระทรวงการคลังได้ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) เหลือโต 3.5% จาก 3.6 %
รัฐบาลยิ่งล่าช้า ยืดเยื้อ ท่องเที่ยวยิ่งทรุดกระทบต่างชาติมาไทย
เปิดชีวิต 10 ปี ชาวนาไทยยัง "จน" แถมหนี้ท่วม
กลุ่มตัวอย่างมีรายได้น้อยกว่ารายจ่ายทั้งครอบครัว นับตั้งแต่ที่มีสงครามการค้าปี 62 ทำให้การส่งออกติดลบ ต่อเนื่องมาถึงโควิด-19 เกิดการล็อกดาวน์ นอกจากนี้ต้นทุนต่าง ๆ ทั้งค่าไฟ และ ค่าครองชีพแพงขึ้นจากสงครามรัสเซีย – ยูเครน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจต่อเนื่อง ทำให้เศรษฐกิจติดลบในปี 63 ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี เพิ่มขึ้นจาก 84 % เป็น 94 % แม้ว่าหลังจากโควิด-19 คลี่คลาย เศรษฐกิจไทยเริ่มดีขึ้น หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีปรับลดลงบ้าง มีการซื้อสินทรัพย์ถาวร เช่น บ้าน และรถยนต์แต่ปัญหาหนี้ครัวเรือนยังเรื้อรัง จนทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการแก้ปัญหาหนี้เรื้อรัง และ ให้ความรู้ทางการเงิน และ สร้างวินัยทางการเงินแก่ประชาชน
นายธนวรรธน์ กล่าวว่า อยากเห็นการจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็ว ให้ได้ตามไทม์ไลน์ที่เอกชนคาดไว้ คือ ในเดือนสิงหาคม – กันยายนนี้ เพื่อให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัวได้ 3-3.5% และ ปี 2567 ขยายตัว 3.5-4 % เพราะหากการจัดตั้งรัฐบาลยืดเยื้อไปอีก 10 เดือน จะส่งผลกระทบต่อการจัดทำงบประมาณ โดยเฉพาะงบลงทุน กว่า 700,000 ล้านบาท อาจจะชะลอ และ จะกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่จะชะลอการลงทุนไปด้วย
บวกกับยังมีปัญหาภัยแล้ง และ ทิศทางเศรษฐกิจโลกซึม อาจทำให้การส่งออกของไทยติดลบต่อเนื่อง ดังนั้นการมีรัฐบาลใหม่ช้าจะกระทบทำให้เศรษฐกิจฟื้นช้า เศรษฐกิจไทยจะมีความเสี่ยงมากขึ้น อาจโตต่ำกว่า 3-3.5 % ได้ หากการเมืองยังมีปัญหา และ มีการประท้วงรุนแรง