จากสถานการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในลิเบียยังคงหนักหน่วง โดยเฉพาะเมืองเดอร์นา หนึ่งในเมืองที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุด หลังพายุฝนพัดถล่มอย่างหนักจนเขื่อนแตก และกวาดหลายหมู่บ้าน พร้อมด้วยผู้คนลงไปในทะเล
โดยปรากฎภาพถ่ายดาวเทียมจากบริษัท Planet Labs PBC ที่เผยให้เห็นภาพก่อนและหลังเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในเมืองเดอร์นา ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 125,000 คน พร้อมกันนั้นยังมีคลิปวิดีโอที่เผยให้เห็นร่างไร้วิญญาณจำนวนมากเรียงรายอยู่เต็มพื้นถนนในเมืองเดอร์นา ซึ่งเสียชีวิตจากเหตุน้ำท่วมนี้
ลิเบียน้ำท่วมหนัก หวั่นผู้เสียชีวิตพุ่งหลายพันคน
ผู้อพยพแอฟริกัน ติดอยู่พรมแดนตูนิเซีย-ลิเบียกว่า 2 สัปดาห์
นอกจากนั้นยังมีคลิปวิดีโอที่เผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นภาพของชาวบ้านกำลังสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นหลังน้ำท่วม จากภาพจะเห็นว่าผู้คนจำนวนมากเดินผ่านซากปรักหักพัง อาคารที่พังถล่ม และรถยนต์ที่พลิกคว่ำ รวมถึงถนนที่เต็มไปด้วยเศษซากความเสียหาย
นอกจากนี้สำนักข่าวรอยเตอร์สได้แพร่คลิปวิดีโอหนึ่งที่ระบุว่า เป็นพื้นที่ใกล้กับเขื่อนวาดี ในเมืองเดอร์นาที่พังทลาย หลังฝนตกหนัก ในคลิปดังกล่าว มีผู้ชายคนหนึ่งได้อธิบายว่า พื้นที่บริเวณนี้เคยเป็นเขื่อนมาก่อน และมีหุบเขาสองแห่ง รวมถึงถนนหนทางที่เดินทางไปยังที่นั่น แต่ตอนนี้พื้นที่เหล่านี้หลงเหลือเพียงพื้นดินและไม่มีแม้แต่คอนกรีต
ส่วนนี่คือคลิปที่เผยให้เห็นร่างของเหยื่อน้ำท่วมที่ถูกคลุมด้วยผ้า หรือแผ่นพลาสติกด้านนอกโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเมืองเดอร์นาเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลระบุว่า จนถึงตอนนี้ที่โรงพยาบาลแห่งนี้สามารถนับร่างผู้เสียชีวิตไปได้แล้วประมาณ 2,200 ราย ในพื้นที่สองเขตของเมือง โดยร่างที่ได้รับการยืนยันตัวตนจากญาติหรือเพื่อนแล้ว ก็จะถูกนำไปฝัง แต่บางร่างไม่มีชื่อและยืนยันตัวตนไม่ได้ เจ้าหน้าที่ต้องถ่ายรูปและจัดการใส่หมายเลขให้ ก่อนที่จะนำไปฝังหมู่ในหลุมศพ ซึ่งตอนนี้เจ้าหน้าที่ได้เริ่มนำร่างของผู้เสียชีวิตไปฝังรวมกันแล้ว
อิทธิพลของพายุแดเนียล ที่พัดถล่มลิเบีย ส่งผลทำให้เกิดฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศ โดยเฉพาะในเมืองเดอร์นา พบพื้นที่ประมาณหนึ่งในสี่จมอยู่ใต้บาดาล หลังเขื่อน 2 แห่งรับปริมาณน้ำไม่ไหวจนแตก ทำให้กระแสน้ำที่เชี่ยวกรากพัดชุมชนหลายแห่งและผู้คนหายลงไปในทะเล
ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในเมืองเดอร์นาคนหนึ่งเล่าว่า ตอนที่เขาได้ยินว่ามีเขื่อนแตกและน้ำเริ่มท่วม ผู้คนต่างกำลังหลับอยู่และไม่มีใครพร้อมอพยพ คนเหล่านี้ถูกกระแสน้ำพัดหายไป และตอนนี้ในครอบครัวของเขาเองได้สูญเสียสมาชิกไปแล้ว 30 คน
ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมในเมืองอื่นๆ อย่าง เมืองอัล-มาร์จ (Al-Marj) เมื่อวานนี้มีภาพถ่ายจากโดรนที่เผยให้เห็นน้ำท่วมรอบอาคารที่พักอาศัยขนาดใหญ่ นอกจากนี้ที่เมือง อัล-เบย์ดา, โตบรุค, ตาเคนิส, อัล-บายาดา และบัตตาห์ รวมถึงเมืองชายฝั่งทางตะวันออกยาวไปจนถึงเมืองเบงกาซี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองก็ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมรุนแรงเช่นเดียวกัน
ด้าน เทเมอร์ รามาดาน (Tamer Ramadan ) ผู้แทนสหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ หรือ IFRC ในประเทศลิเบีย ประเมินว่า ผู้สูญหายจากเหตุน้ำท่วมในลิเบียมีจำนวนมากกว่า 10,000 คน และอาจมีผู้เสียชีวิตมหาศาล ซึ่งตัวเลขอาจสูงถึงหลายพันคนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
แม้ตอนนี้จะยังไม่ทราบจำนวนผู้เสียชีวิตที่แน่นอน แต่ล่าสุดกระทรวงมหาดไทยของรัฐบาลลิเบียฝ่ายตะวันออกระบุว่า ในเมืองเดอร์นาเพียงแห่งเดียว พบผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 5,200 ราย และคาดว่าตัวเลขจะเพิ่มสูงขึ้นกว่านี้ ส่วนความคืบหน้าในการส่งความช่วยเหลือจากประเทศต่างๆ ที่ลิเบียได้ตอบรับความช่วยเหลือ ซึ่งมีเพียงไม่กี่ประเทศ
เมื่อวานนี้ เครื่องบินตุรกีและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้เดินทางถึงลิเบียแล้ว โดยในส่วนของตุรกีได้ส่งเครื่องบิน 3 ลำที่บรรทุกเจ้าหน้าที่ได้ประมาณ 168 คน พร้อมด้วยสิ่งของและอุปกรณ์ช่วยเหลือที่จำเป็นลำเลียงไปยังเมืองเบงกาชี เช่นเดียวกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ได้ส่งอาหาร เวชภัณฑ์ เรือกู้ภัย และเต๊นท์พักพิงไปให้
ขณะที่สำนักงานเพื่อการประสานงานกิจการด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติระบุว่า เวลานี้ได้มีการระดมทีมกู้ภัยเหตุฉุกเฉิน ส่งความช่วยเหลือไปยังภาคพื้นดินอย่างต่อเนื่อง
ส่วนรัฐบาลเอกภาพลิเบียได้แถลงความคืบหน้าล่าสุดในการส่งความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ประสบภัยพิบัติน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐบาลเอกภาพลิเบียยืนยันว่า เจ้าหน้าที่กู้ภัยและการส่งความช่วยเหลือต่างๆ ยังคงดำเนินอยู่ตลอดเวลา พร้อมย้ำว่ารัฐบาลเอกภาพกำลังประสานงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศและสภากาชาด รวมถึงทีมงานจากประเทศต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือประชาชนและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติในครั้งนี้
นี่คือภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเสียหายครั้งใหญ่ที่สุดของลิเบียเกิดจาก 2 ปัจจัยใหญ่ อย่างแรกคือ พายุที่รุนแรงขึ้นจากการภาวะโลกร้อน อีกปัจจัยหนึ่งคือ การขาดการเตรียมพร้อมในการรับมือกับภัยพิบัติเนื่องจากลิเบียอยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง
ทั้งนี้ลิเบียตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา นับตั้งแต่ปี 1969 เป็นต้นมา ที่นี่ถูกปกครองโดยผู้นำคนเดียวนั่นก็คือ มูอัมมาร์ กัดดาฟี การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในปี 2011 เมื่อโลกอาหรับกระเพื่อมจากการลุกฮือของประชาชนที่ต่อต้านผู้นำที่ครองอำนาจเบ็ดเสร็จยาวนาน เหตุการณ์นั้นถูกเรียกว่า “อาหรับสปริง” ผู้นำหลายประเทศถูกโค่นล้ม ตั้งแต่อียิปต์ ตูนิเซีย และลิเบีย ที่มูอัมมาร์ กัดกาฟีถูกสังหาร หลังจากนั้นลิเบียตกอยู่ในความวุ่นวาย เมื่อหลายกลุ่มในประเทศแย่งชิงอำนาจกันเอง เกิดเป็นสงครามกลางเมือง
เมื่อปี 2014 เกิดการปะทะใหญ่กรุงตริโปลี เมืองหลวการปะทะยาวนานถึง 1 เดือน จนทำให้กองกำลังที่นำโดยนายพลคาลิฟา ฮาฟตา หนีไปทางตะวันออกของประเทศและประกาศจัดตั้งรัฐบาล ควบคุมพื้นที่ 2 ใน 3 ของประเทศ
ปัจจุบันรัฐบาลลิเบียตะวันออกมีนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ โอสซามา ฮามัดลิเบียตะวันออกคือที่ตั้งของเมืองเดอร์นา ซึ่งเป็นเมืองที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากภัยพิบัติครั้งนี้ส่วนฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงอย่างกรุงตริโปลี อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลแห่งชาติ หรือ GNA มีผู้นำคือ นายกรัฐมนตรีอับดุลฮามิด อัล บีเบห์ โดยเขาได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ ให้ขึ้นมาเป็นผู้นำในช่วงการเปลี่ยนผ่านหลังกัดดาฟีถูกสังหาร
ก่อนหน้านี้นายกฯ บีเบห์เคยประกาศว่า จะจัดการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2022 เพื่อให้ลิเบียมีรัฐบาลอย่างเป็นทางการ แต่การเลือกตั้งก็ไม่เกิดขึ้นเนื่องจากยังต้องสู้รับกับฝั่งรัฐบาลตะวันออกซึ่งพยายามเคลื่อนกำลังเข้ามายึดเมืองหลวง เท่ากับว่าในขณะนี้ลิเบียมีนายกรัฐมนตรีสองคน และต่างฝ่ายต่างมีประชาชน กลุ่มติดอาวุธ ตลอดจนเสียงสนับสนุนจากต่างชาติ ความขัดแย้งและสงครามกลางเมืองทำให้สภาพบ้านเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นถนนหรือเขื่อนอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม และเป็นสาเหตุทำให้พังลงมาเมื่อเจอกับภัยธรรมชาติ
ที่สำคัญภัยธรรมชาติที่ลิเบียเจอล่าสุดเป็นภัยที่รุนแรงผิดปกติ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ น้ำท่วมครั้งใหญ่จนกวาดกินชีวิตผู้คนนับหมื่นให้หายไปเป็นผลมาจากอิทธิพลของพายุแดเนียล แดเนียลมีสถานะเป็นเฮอริเคนในวันที่พัดถล่มกรีซเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนที่จะเคลื่อนตัวลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่แทนที่จะอ่อนกำลังลง แดเนียลกลับทวีกำลังกลายเป็นพายุเมดิเคน (medicane) หรือ เฮอริเคนแห่งเมดิเตอร์เรเนียน ก่อนจะพัดกระหน่ำลิเบียอย่างหนักหน่วง
อิทธิพลของพายุ ส่งผลให้เกิดฝนตกกระหน่ำหนักแบบผิดปกติโดยเฉพาะภาคตะวันออกของประเทศ เขื่อนอย่างน้อย 2 แห่งแตกหลังรับมวลน้ำไม่ไหว น้ำจากเขื่อนไหลทะลักลงมากวาดเอาบ้านเรือนและผู้คนที่อยู่บริเวณพื้นที่ใต้เขื่อนหายไปเป็นจำนวนมาก
เฮอริเคนแห่งเมดิเตอร์เรเนียนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่บ่อย เพราะโดยปกติพายุเฮอริเคนมักจะเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลสูงเกิน 26.5 องศาเซลเซียส และต้องเป็นพื้นที่ที่มี “แรงลมเฉือน” ต่ำด้วย โดยภาวะเช่นนี้มักเกิดขึ้นที่บริเวณเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิของพื้นผิวโลกที่สูงขึ้นกำลังทำให้เกิดเฮอริเคนในพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดมาก่อน เช่น แถบมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ รวมถึงบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้วย
ส่วนที่ชายฝั่งทางตะวันออกของสหรัฐฯ เผชิญกับสภาพอากาศเลวร้ายจากอิทธิพลของพายุเฮอริเคน ลี ที่ยังคงมีกำลังแรง โดยมีคลิปวิดิโอในห้องนักบินบนเครื่องบินกอนโซ (Gonzo) ที่เผยให้เห็นถึงความปั่นป่วนของสภาพอากาศ ขณะกำลังไล่ล่าเฮอริเคนลีเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยพายุเฮอริเคน ลี ได้ทวีกำลังแรงขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติก ขณะเคลื่อนตัวเข้าใกล้พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของสหรัฐฯ
ไมค์ เบรนแนน (Mike Brennan) ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยเฮอริเคนแห่งชาติสหรัฐฯ ระบุว่า พายุเฮอริเคนลียังคงเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ที่มีกำลังแรง โดยเวลานี้จุดศูนย์กลางของเฮอริเคนอยู่ห่างจากเกาะเบอร์มิวดาประมาณ 550 ไมล์หรือประมาณ 885 กิโลเมตร และเคลื่อนตัวออกไปยังชายฝั่งตะวันออกด้วยความเร็วประมาณ 12.9 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ทั้งนี้ศูนย์เตือนภัยเฮอริเคนแห่งชาติสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า อิทธิพลของพายุเฮอริเคนลีอาจทำให้เกิดคลื่นกระทบชายฝั่งที่เป็นอันตราย และกระแสน้ำรุนแรง หรือคลื่นทะเลดูดในพื้นที่ชายฝั่งทางตะวันออกของประเทศในอีกไม่กี่วันข้างหน้า
"ครม.เศรษฐา" ปรับแผนจ่ายเงินเดือนข้าราชการเป็นเดือนละ 2 รอบ คาดเริ่ม 1 ม.ค. 67
ครม.เศรษฐา ลดราคาน้ำมันดีเซล 20 ก.ย. – ลดค่าไฟฟ้าเริ่มรอบบิล ก.ย.
"ผลสอบ ก.พ.66” รอบ Paper & Pencil ประกาศแล้ว เช็กรายชื่อได้ ที่นี่ !